วิธีการเลือกซื้อเครื่อง Scanner สำหรับผู้ใช้ระดับสูง เครื่อง สแกนเนอร์ ที่แนะกับผู้ใช้ในระดับนี้ จะต้องเป็นเครื่อง สแกนเนอร์ ที่มีความละเอียดที่สูง มีบิตสีในการสแกนที่มาก มีความเร็วในการสแกนที่พอเหมาะไม่ช้าจนเกินไป สามารถสแกนได้ทั้งกระดาษธรรมดา และแผ่นฟิล์ม มีขนาดและรูปร่างที่ไม่ใหญ่มากนัก
ต่อมาเป็นจำนวนบิตสีในการสแกนควรจะอยู่ที่ 48 บิตสี จะอยู่ในโหมด สี 48 บิต Input/ 24 บิต Output ส่วนโหมดสีเท่า 16 บิต Input/ 8 บิต Output ส่วนความเร็วในการพรีวิวสแกนควรจะอยู่ที่ 7 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น ส่วนพื้นที่ในการสแกนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 216 x 197 มิลลิเมตร หรือกระดาษขนาด A4 ความสามารถของเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) บางรุ่นจะสามารถสแกนรูปภาพหรือข้อความถูกบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มได้ นับว่าเป็นตัวเลือกของผู้ใช้ที่ต้องการคุณสมบัติเพิ่มเติมอย่างอื่นอีก
ส่วนการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเครื่อง สแกนเนอร์ (Scanner) ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อผ่านทาง USB 1.1/2.0 อันนี้แล้วแต่เครื่องของผู้ใช้กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ใช้พอร์ต USB เวอร์ชันใด ถ้าเป็น USB 1.1 ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลน้อยกว่า USB 2.0 แต่ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลว่าถ้า USB ของผู้ใช้เป็น USB 2.0 แล้วจะไม่สามารถใช้ USB 1.1 ได้ สามารถใช้ได้ครับแต่ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลจะช้าลงเพียงเท่านั้น ส่วนในเรื่องพลังไฟที่ใช้ในเครื่องScanner (สแกนเนอร์) บางรุ่นจะมี Adapter ในการเชื่อมต่อเพื่อจ่ายพลังงานให้กับเครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) แต่ในบางรุ่นจะสามารถใช้กระแสไฟจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงได้ นับเป็นข้อดีอย่างหนึ่งที่จะทำผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องหาปลั๊กไฟเพิ่มเติม แต่ก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่หาก Power Supply ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีกำลังไฟไม่เพียงพอแล้วอาจจะทำให้เครื่อง Scanner (สแกนเนอร์) หรืออุปกรณ์บางอย่างไม่สามารถทำงานได้ ในส่วนระบบใช้ก็จะเป็น Windows 98/98SE/ME/2000/XP หรือ Mac OS 8.6-9.x ส่วนในด้านเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่แถมมากับเครื่อง Scanner นั้น อันนี้แล้วแต่ผู้ใช้ว่ามีความถนัดหรือใช้งานได้ง่ายหรือไม่* ในส่วนแรกเลยก็คงจะต้องมาเลือกกันที่ว่าหัวสแกนของเครื่อง สแกนเนอร์ หรือ Scanner ต้องการหัวสแกนแบบใด แบบ CCD Flatbed หรือแบบ CIS Flatbed ซึ่งหัวสแกนทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ แบบCCD Flatbed จะมีความละเอียดในการสแกนรูปภาพ และความเร็วในการสแกนที่สูงกว่าหัวสแกนแบบ CIS Flatbed ส่วนขนาดของเครื่องหัวสแกนแบบ CCD Flatbed จะมีความหนาและใหญ่กว่าเครื่องที่ใช้หัวสแกนแบบ CIS Flatbed ความละเอียดสำหรับเครื่อง Scanner ในระดับมืออาชีพนี้ควรจะมีความละเอียดอยู่ที่ 1200 x 1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป ยิ่งมีความละเอียดที่สูงก็จะทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงขึ้น แต่ในเครื่อง สแกนเนอร์ (Scanner) ในปัจจุบันจะสามารถปรับความละเอียดในการสแกนเพิ่มขึ้นได้อีกโดยใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เข้าช่วย ความละเอียดที่ได้จากโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์จะอยู่ที่ 9600 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไปสแกนเนอร์ (Scanner)
สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สแกนเนอร์แบ่งป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner)
2. สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
3. สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)
สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกน ซึ่งอยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้
สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก
สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไป บนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน
เทคโนโลยีการสแกนภาพ
- แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
เทคโนโลยีแบบ PMT หรือ Photomultiplier tube ใช้หัวอ่านที่ทำจากหลอดสูญญากาศให้เป็นสัญญาณ ไฟฟ้าและสามารถขยาย สัญญาณได้กว่าร้อยเท่า ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงและมีราคาแพง - แบบ CIS (Contact Image Sensor)
เทคโนโลยีแบบ CIS หรือ Contact image sensor ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์แบบสัมผัสภาพซึงเป็นระบบการทำงานที่ตัวรับแสง จะรับแสงที่สะท้อนกลับจากภาพมายังตัวเซนเซอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านกระจกเลนส์ ลำแสงสีขาวที่ใช้ในการสแกนจะมี 3 หลอดสีคือ สีแดง , น้ำเงิน และ เขียว ทั้ง 3 หลอดจะสร้างแสงสีขาวขึ้นมาเพื่อใช้สแกน สำหรับสแกนเนอร์ที่ใช้ระบบ CIS นี้ ให้ความละเอียดสูงสุดได้ประมาณ 600 จุดต่อนิ้วเท่านั้น ระบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องของการโฟกัส คือ ไม่สามารถโฟกัสได้เกิน 0.2 มม. จึงทำให้ไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้ - แบบ CCD (Charge-Coupled Deiver)
เทคโนโลยีแบบ CCD หรือ Charged-coupled device ใช้หัวอ่านที่ไวต่อการรับแสงและสามารถแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สแกนเนอร์ส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์แบบ CCD จึงทำให้สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้ แต่รูปทรงจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ CIS เพื่อรองรับแผงวงจรที่ใช้พลังงานสูง การทำงานของสแกนเนอร์แบบ CCD คือการส่องแสงไปที่วัตถุที่ต้องการสแกน เมื่อแสงสะท้อนกับวัตถุและสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อน กลับออกมาจากวัตถุ และแปลงความเข้มของแสงให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล เพื่อส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลภาพหรือสีนั้นๆ ออกมา ในลักษณะความเข้มข้นของแสงที่ออกมาจากวัตถุ (ส่วนของสีที่มีสีเข้มจะสะท้อนแสงน้อยกว่าส่วนที่มีสีอ่อน) การทำงานของเครื่องสแกนเนอร์จะถูกควบคุมโดยซอฟแวร์ที่เรียกว่า TWAIN ซึ่งจะควบคุมการอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิตอล เป็นข้อมูลที่ CCD สามารถตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น แต่ในกรณีที่วัตถุนั้นเป็นลักษณะโปร่งแสง เช่น ฟิล์ม หรือแผ่นใส แสงที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์ จะทะลุผ่านม่านวัตถุนั้นออกไป โดยจะไม่มีการสะท้อน หรือถ้ามีการสะท้อน ก็จะน้อยมากจน CCD ตรวจจับความเข้มของแสงนั้นไม่ได้ หรือถ้าได้ก็อาจเป็นข้อมูลที่มีความผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการสแกนวัตถุที่มีลักษณะโปร่งแสงนั้น ต้องมีชุดหลอดไฟส่องสว่างด้านบนของวัตถุนั้น ซึงอุปกรณ์ชนิดนี้ได้แก่ Transparency Unit หรือ Film Adapter
ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
- ภาพ Single Bit
ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ - ภาพ Gray Scale
ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น - ภาพสี หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
- ตัวหนังสือ
ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น